02 พฤศจิกายน 2550

เรือนไทย



สุนทรียศาสตร์คือ

วิชาที่ว่าด้วยความงาม จัดอยู่ในวิชาปรัชญาแขนงหนึ่งที่ว่าด้วยคุณค่าความงามและการตัดสินความงาม

ประโยชน์ของวิชาสุนทรียศาสตร์

1. ส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินความงามอย่างสมเหตุสมผล

2.ช่วยกล่อมกลมให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน

3.เสริมสร้างประสบการณ์สุนทรียะให้กว้างขวาง

4.ส่งเริมแนวทางในการแสวงหาความสุข

5. ส่งเสริมให้เห็นความสำคัยของสรรพสิ่ง

มีประโยชน์ต่อวิชาชีพพยาบาลอย่างไร

เป็นสุนทรียในเรื่องการบำบัด เช่นการบำบัดโรคจิต โดยการอยู่ในรูปของเสียงดนตรี เสียงเพลง คนที่มีอาชีพเป็นพยาบาลต้องมีความงดงามในจิตใจ เพื่อที่จะถ่ายทอดทางอารมณ์ พฤติกรรมที่ดีขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลคนไข้

โบสถ์











สถาปัตยกรรมไทย หมายถึง ศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง อันประกอบด้วยโครงสร้างที่มีรูปทรงเป็นสำคัญ สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ทั้งกายและทางจิตใจ เป็นศิลปกรรมที่กินพื้นที่ในอากาศ (Plastic Art) มีทั้งประโยชญ์ใช้สอย และความงาม
สถาปัตยกรรมไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สถาปัตยกรรมเกี่ยวกับศาสนาและความเชื่อ
2. สถาปัตยกรรมเกี่ยวกับอาคารที่อยู่อาศัย

สถาปัตยกรรมเกี่ยวกับศาสนาและความเชื่อ
เป็นงานด้านการออกแบบก่อสร้างเพื่อแสดงออกถึงความเชื่อที่มนุษย์มีต่อสรรพสิ่งที่ไม่มีตัวตนอยู่เหนือธรรมชาติตามความเห็นร่วมกันในสังคม สถาปัตยกรรมไทยประเภทนี้มีจำนวนมากเช่น โบสถ์ วิหาร สถูป เจดีย์ ฯลฯ เป็นต้น

โบสถ์ หมายถึง สถาปัตยกรรมที่ใช้เป็นสถานที่ที่พระสงฆ์ประชุมกันทำสังฆกรรมต่างๆ
หลังคาสูงแบบบ้านเรือนไทย นิยมสร้างบ้านชั้นเดียวติดกับพื้นยกพื้นสูงขึ้น
วิหาร หมายถึง อาคารที่สร้างขึ้นโดยมีหลังคา 2 ปีก หรือหลังคาที่ลาดลงไป 2 ข้างอีกนัยหนึ่งคือหลังคาที่มีสันหลังคาหรืออกไก่ หรือหลังคาที่มียอดแหลม อย่างทรงปิรามิดก็ได้ หลังคาสอปีกนี้อาจจะเป็น “หลังคาทรงมลิลา” (Gable Roof) โดยมีหน้าจั่วหัวท้ายหลังคาก็ได้หรือจะไม่มีหน้าจั่วแต่เป็นทรงปั้นหยา (Hip Roof ) ก็ได้ หรืออาจจะผสมกันทั้ง 2 แบบก็ได้
เจดีย์ หมายถึง สิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อให้ระลึกถึงทางธรรม หรือระลึกถึงพระพุทธเจ้านั่นเองเจดีย์ในทางพระพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น 4 อย่าง คือ บริโภคเจดีย์, ธาตุเจดีย์, ธรรมเจดีย์ และ อุเทสิกเจดีย์








สุนทรียศาสตร์

1. สุนทรียศาสตร์จัดอยู่ในปรัชญาสาขาใด
ตอบ จัดอยู่ในปรัชญาสาขา Axiology
เป็นวิชาที่ว่าด้วยคุณค่าต่างๆ ซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง และมนุษย์เข้าใจซาบซึ้งถึงคุณค่านั้น ด้วยกระบวนการทางญาณวิทยาคุณค่าที่กำหนดให้ศึกษา ในวิชาปรัชญานี้มี 4. ประการ คือ 1 ความดี (จริยศาสตร์) 2. ความงาม ( สุนทรียศาสตร์) 3. ความจริง (ตรรกวิทยา)และ4. ความบริสุทธิ์ของจิตใจ ( เทววิทยา)

2. สุนทรียศาสตร์กับจริยศาสตร์แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ สุนทรียศาสตร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณค่าความงามตรงกับคำว่า Aesthetic
หมายถึงการรับรู้อันเป็นกระบวนการ ประสาทสัมผัส ระหว่างสิ่งเร้าภายนอกกับอวัยวะสัมผัสภายในทำให้เกิดความรู้สึก นำไปสู่อารมณ์สุนทรีย์
จริยศาสตร์ Ethics เป็นสาขาหนึ่งของวิชาปรัชญา ศึกษาเรื่องความประพฤติที่เกี่ยวข้อง สิ่งใดถูกหรือผิด สิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำเน้นคุณค่าของพฤติกรรม คุณค่าของชีวิต
3. ความงามตามทัศนะของท่านหมายถึงอะไร
ตอบ ความงามแนวคิดของปรัชญา
ความงามคือ คุณค่าอย่างหนึ่งของสิ่งเร้าที่มากระทบอวัยวะสัมผัสของมนุษย์อาจจะเห็นเป็นรูปรส กลิ่น เสียง กายสัมผัส แล้วก่อให้เกิดอารมณ์ ความพึงพอใจ ให้เป็นสุข
ความงามตามทัศนนะของข้าพเจ้า คือ ความงามตามธรรมชาติที่มีต่อวัตถุ สิ่งของ เช่น ที่มนุษย์ขึ้น เครื่องประดับ สิ่งของเครื่องใช้ รูปปั้นงานศิลปะที่สวยงามที่มนุษย์สร้างขึ้น
ความงามตามธรรมชาติที่มีต่อสิ่งที่มีอยู่ เช่น หน้าตาของมนุษย์ น้ำตก
ความงามด้านอารมณ์ ความรัก ความรู้สึก
การมีความรู้สึกที่ดีต่อกัน มีจิตใจงาม มีไมตรี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน




4. สุนทรียธาตุคืออะไร มีความหมายครอบคลุมอะไรบ้าง
ตอบ สุนทรียธาตุ คือ ธาตุแห่งความงาม แบ่งออก เป็น 3 ชนิด
1. ความงาม(Beauty)
2. ความแปลกหูแปลกตา(Picture squeness)
3. ความน่าทึ่ง(Sublimity)
สุนทรียธาตุ ยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของศิลปกรรม และธรรมชาติ รับรู้ด้วยอารมณ์และความรู้สึกให้คุณค่าในทางบวก เช่น ความเพลิดเพลิน สุนทรียธาตุจึงเปรียบเสมือนเครื่อง มือ หรือแนวทางหนึ่งในการแสวงหาความสุขของมนุษย์
5. ท่านมีวิธีตัดสินความงามอย่างไร
ตอบ โดยใช้หลักนักปรัชญา
1. ปรนัยนิยม (Objectivelism) คือ การตัดสินใจโดยยึดหลักมาตรฐานที่อยู่ในสภาวะของ อเทสะเป็นสำคัญ
2. อัตนัยนิยม (Subjectivelism) คือมนุษย์เป็นผู้ตัดสินทุกอย่าง
(Man is the Measure of all things)
6. ให้ท่านยกตัวอย่าง การตัดสินใจความงามของนักปรัชญา กลุ่มต่างๆมาอย่างน้อย 3 กลุ่ม
ตอบการตัดสินใจแบบปรนัยนิยม
Plato ความงามมาตรฐาน มีอยู่อย่างปรนัยในโลกแห่งมโนคติ ศิลปินเป็นผู้ระลึกได้ใกล้เคียงมากเป็นพิเศษ
Aristotle ความงามอยู่ที่ความกลมกลืนของสัดส่วน เพราะสัดส่วนทำให้เกิดการผ่อนคลายของประสาท และอวัยวะต่างๆ ความยิ่งใหญ่ของศิลปินอยู่ที่ความสามารถในการค้นพบ ความงามและความกลมกลืน มาถ่ายทอดลงในสื่อ
การตัดสินแบบอัตนัยนิยม
A. Richarts ศิลปะไม่มีหน้าที่ในการสอบหรือชี้แจง ลักษณะของสิ่งของแต่มีหน้าที่ทำให้ผู้มีประสบการณ์ทางสุนทรียธาตุ มีสุขภาพจิตดี ความงามเป็นสิ่งไม่ต่ยตัวขึ้นอยู่กับคนแต่ละคน
Theodurrlipps and Velman be สุนทรียธาตุเกิดจากการที่ศิลปิน หรือผู้ชมแทรกความรู้สึกของตนไปในศิลปกรรม ศิลปินแต่ละคนจะมีประสบการณ์ ทางสุนทรียะต่างกัน
7. ท่านคิดว่า “คุณค่า” กับ “คุณสมบัติ” เหมือนกันหรือแตกต่างอย่างไร
ตอบ คุณค่าเป็นสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้น และมีคุณค่าในตัวมันเอง คุณค่าหมายถึงคุณสมบัติ เช่น ความแข็ง เหลว ร่วน คุณสมบัติย่อมมีลักษณะคุณค่าด้วย ดังนั้นคุณค่ากับคุณสมบัติควรเหมือนกัน


8. คุณค่ามีกี่แบบ และแต่ละแบบมีความสำคัญอย่างไร
ตอบ คุณค่ามี 2 แบบ
1. คุณค่าในตัว (Intrinsic value)
2. คุณค่านอกตัว ( Extrinsin value )
คุณค่าในตัว เราต้องการสิ่งนั้น เพราะตัวของสิ่งนั้นเองมิใช่เป็นเครื่องมือให้ได้มาซึ่งสิ่งอื่น เช่น การมีสุขภาพดี แข็งแรง มีความสุขทางจิตใจ เป็นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวเอง
คุณค่านอกตัว
เราต้องการสิ่งนั้นมิใช่เพราะตัวสิ่งนั้น แต่เพระสิ่งนั้นเป็นเครื่องมือหรือวิถีทำให้ได้มาซึ่งสิ่งอื่น เช่น ต้องการเงินเพราะเงินสามารถนำไปจับจ่ายซื้อของต่างๆได้ เราต้องกราอาหารเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ต้องการยาเพื่อรักษาโรคต้องการศึกษา เล่าเรียน เพื่อมีความรู้
ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ การให้คุณค่าแก่สิ่งต่างๆ ทั้ง 2 ประเภทนี้เป็นสิ่งที่คู่กันเสมอ และสิ่งเดียวกัน บางครั้งก็อาจทำให้คุณค่าทั้ง2ประเภท






30 กันยายน 2550

ประวัติของฉัน

ชื่อ วีนัส คงพันธุ์
วันเกิด วันที่ 4 เดือนก.ค. 2498
อาชีพ รับราชการ
สถานที่ทำงาน โรงพยาบาลดำเนิน
ปัจจุบัน นักศึกษาต่อรุ่น 16
คติ ฝันให้ไกลแล้วไปให้ถึง